ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับหนี้บัตรเครดิต หากค้างชำระมีโทษอย่างไร?
เค้ากลับมาแล้ววววว….. หลังจากติดภาระกิจหลายอย่างมัดรวมกันมารอบเดียวเลยไม่ได้เขียนอะไรเลยวันนี้จึงขอสักหน่อย ล่าสุดรอบ ๆ ตัวกระผมมีคดีหนี้ (บัตรเครดิต) กับ คดีโดนไฟแนนซ์ยึดรถแล้วจะโดนบังคับคดี เต็มไปหมดเลย
เลยอยากฝาก เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้ไว้ให้อ่านกันสักนิด วันนี้ขอเรื่องหนี้บัตรเครดิต ก่อนแล้วกัน เพราะเห็นว่ากลายเป็น
ปัจจัยหลักของใครหลายคน ความเห็นส่วนตัวหนี้บัตรเครดิตก็เหมือนกับการที่เราเอาเงินในอนาคตอันใกล้มาใช้ก่อนแล้ว ก็จ่ายคืนเค้าที่หลัง ถ้าจัดสรรเรื่องระเบียบด้านการเงินได้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ก็มีหลายคนที่ใช้เกินตัวไปมาก (ขอย่ำว่าใช้ไปม๊วกกกกกกจริง ๆ ลิมิตเท่าไหร่ก็ จัดซะสุดซอย) จนจัดการเรื่องเงินไม่ทันจ่ายคืนก็ไม่ได้ ชักหน้าไม่ถึงหลังกันเลยทีเดียวแล้ว สุดท้ายก็โดนฟ้องร้องเป็นคดีในที่สุดแล้ว จะ เป็นยังไง จะโดนอะไรบ้าง ต้องทำไงต่อ คำถามตามมาเป็นชุดเลยเมื่อเจอหมายศาลมาเสียบที่บ้าน แต่เอาจริง ๆ เรื่องหนี้บัตรต่าง ๆ มีรายละเอียดแต่ต่างกันมาก ซึ่งเยอะมากจริงจะพยายามแบ่งเท่าที่นึกออกก่อนเน้อ…
อย่างแรกเลย ถูกฟ้องแล้วคดีนี้คืออะไรแล้วผลเป็นอย่างไร?
คดีหนี้บัตรเครดิตนี้เป็น คดีทางแพ่ง ผลลัพธ์ ของคดีแพ่งคือการบังคับคดี (บังคับเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้) ไม่มีโทษจำคุกนาจา. . . ( ยกเว้นมีข้อเท็จจริงความผิดเกี่ยวกับคดีอาญามาร่วมอยู่ด้วย)
ต่อมาถูกฟ้องแล้วเป็นไงต่อ
ก็. . .นั้งยิ้มหวานรับหมายศาลที่บ้านเลยจ้า แน่นอนเราเอาเงินเขามาใช้แล้วไม่มีชำระคืนเขาก็ต้องฟ้องเป็นที่แน่แท้ แล้วก็ไปตามวัน เวลา สถานที่(ศาล) ตามหมายที่ส่งมาให้
– ถ้าเป็นคดีที่ราคาทรัพย์พิพาทเกิน 300,000 ก็จะเป็นศาลจังหวัด
– ถ้าเป็นคดีที่ราคาทรัพย์พิพาทน้อยกว่า 300,000 ก็จะเป็นศาลแขวง
แต่ก็แล้วแต่พื่นที่กับเขตอำนาจอีกทีน๊า. . ก็ดูใหมายศาลนั้นแหละว่าจะต้องไปที่ไหน แต่!!!!!!!!! ตรงนี้ขอย้ำเลยนะหลายคนเห็นหมายศาลแล้วไม่ไปกลัวหรืออะไรก็แล้วแต่จะอ้าง ลูกหนี้จะเสียเปรียบอย่างมาก แนะนำให้ไป กล้าทำก็กล้ารับไปเลยทุกปัญหามักจะมีทางออกให้เสมอเพียงแต่ต้องหาให้เจอเท่านั้นเองถ้าไม่ลงมือหาก็ไม่มีวันจะเจอแม้ทางออกจะเล็กแค่ไหนถ้าตั้งใจหาก็มักจะเจอเสมอ (หง๊อววววววเท่ม๊วกกกก)
ไปศาลแล้วยังไงต่อ?
ส่วนใหญ่ก็จะมีการ ไกล่เกลี่ยกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ก็ถ้าตกลงกันได้ ว่าจะจ่ายเท่าไหร่ ไหวยังไง ก็ประนอมยอมความ และก็จ่ายตามข้อตกลง แต่ถ้า ไม่ลงตัวละ ศาลก็จะมีการไกล่เกลี่ย อีกรอบ(ไกล่เกลี่ยโดยศาล) เราก็ต้องแถลงต่อศาลเลยว่าเราไหวยังไงไหวเท่าไหร่หรืออะไรยังไง ก็พยายามแสดงความจริงขอความเห็นใจต่อศาลท่าน แต่ขอย้ำอีกครั้งว่า ให้พูดความจริงนะไม่ใช่โกหก เพราะศาลอาจมีการส่งเจ้าหน้าที่มาดูก็เป็นได้
ต่อไปก็ต้องดูด้วยว่า อายุความกี่ปี และเริ่มตอนไหน?
จากเราไม่ชำระหนี้เขาวันไหน ก็วันถัดไปนั้นแหละเริ่มนับอายุความ ในการฟ้องร้องเรื่องหนี้บัตรเครดิตมีอายุความต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับจากผิดนัดชำระหนี้ แต่เดี๋ยวก่อน การนับอายุความตามกฏหมายอย่าไปนับเองแล้วพูดเองเออเองนะจ๊ะ เพราะมันจะมีรายละเอียดอันลึกซึ้งอยู่อีกเยอะพอสมควร เช่น อายุความสะดุดหยุดลง ก็ต้องเริ่มนับอายุความใหม่หรืออื่นๆ อีกตามข้อเท็จจริงของแต่ละเรื่อง แนะนำว่า ให้ปรึกษาทนายความ ที่ไว้ใจดีกว่าในส่วนนี้
ถูกฟ้องแล้วแพ้คดีจะโดนอะไรบ้าง
จ้า. . .ก็ยึดกับอายัด จบปิ๊งงงง
ยึดอะไร?
ยึดทรัพย์สินหรือ การบังคับคดี ก็มีทั้งยึดได้และไม่ได้เอาหลัก ๆ ก็ถ้าไม่จ่ายหนี้เขาหลังจากศาลพิพากษา
(กรณีไม่ได้มีการประนอมหนี้กันนะหรือตกลงกันไม่ได้) ศาลจะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึดและอายัดต่อไป
เอาที่ยึดไม่ได้ก่อนก็เช่นว่า ทรัพย์สินที่เป็นของที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต เช่น ของใช้ในครัว หม้อ(ยกเว้นหม้อทองคำ) ทีวี เก้าอี้
รวมกัน 50,000 บาทแรก แต่ถ้า เป็น สร้อย แหวนทอง นาฬิกาหหรู ถือว่าไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต ยึดได้
ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปริ๊น หม้อก๋วยเตี๊ยว เป็นต้น รวมมูลค่า 100,000 บาทแรก ห้ามยึด ต่อจากเรื่องยึด หลังจากแพ้คดีไปแล้ว เรื่องยึด ทรัพย์สินที่ยึดได้หลัก ๆ ก็จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน สังหาริมทรัพย์ ก็เช่น รถยนต์ แก้ว แหวน เงิน ทอง จึงเป็นทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้
อายัดอะไร?
เรื่องอายัดเยอะแยะมากมาย ขอยกตัวอย่างเด่นๆแล้วกันเน้อออ. . . . . . . . .การอายัดเงินเดือนของกรมบังคับคดี หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท ฯลฯ จะถูกอายัดเงินเดือนตามนี้
– อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 %
– ลูกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท (อายัดไม่ได้)
– ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
– หากลูกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหลักฐานไปขอลดหย่อนที่กรมบังคับคดีเพื่อให้ลดการอายัดเงินเดือนได้
– เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %
– บัญชีเงินฝาก (อายัดได้)
– เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท (อายัดไม่ได้)
และก็ต่อด้วยทรัพย์สินของ สามี-ภรรยา ยึดได้หรือไม่?
การเป็นสามีหรือภรรยา ต้องเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย คือการจดทะเบียนสมรสนั่นเอง
ถ้าไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสก็เป็นการอยู่กินกันอย่างสามีและภรรยาเท่านั้นทรัพย์สินต่างๆ จึงไม่ใช่สินสมรสการที่จะสามารถบังคับคดีหรือการยึดทรัพย์สินจึงยึดทรัพย์สินได้แต่เฉพาะของลูกหนี้เท่านั้น ในทางกลับกันถ้าจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การบังคับคดียึดทรัพย์สินก็สามารถยึดในส่วนอื่นๆ ที่เป็นของคู่สมรสได้
การประนอมหนี้
แน่นอนเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ เป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างต้องหาทางออกร่วมกัน การประนอมหนี้นั้นก็เป็นการช่วยกันคิดด้วยเหตุผลของเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่นลูกหนี้อาจตกอยู่ในภาวะเงินขาดมือจึงไม่ได้ชำระหนี้ตามกำหนดที่เจ้าหนี้กำหนดไว้ การประนอมหนี้ก็เท่ากับเจ้าหนี้ต้องเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ได้หาทางชำระหนี้เบาลงหรือผ่อนปรนกันนั้นเอง เช่นอาจจะเป็นการจ่ายน้อยลง , ลดจำนวนหนี้เงินต้น , ลดดอกเบี้ย หรือ ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปให้นานกว่าเดิมเพิ่มเวลาให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสในการหาเงินมาชำระหนี้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่าง เจ้าหนี้และลูกหนี้
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เป็นเพียงภาพรวมต่างๆ ซึ่งก็มีหลายคนที่กลัวการต่อรอง หรือไม่กล้าไปศาล เลยไม่ชำระหนี้ หรือ หนีหนี้เอาดื้อ ๆ สุดท้ายนี้ กระผมมิได้เข้าข้างใครเป็นพิเศษแล้วก็ไม่แนะนำให้ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ด้วย และอยากฝากลูกหนี้ทั้งหลาย การไม่มีหนี้นั้นเป็นลาภอันประเสริฐ จงใจเอาเงินเขามาแล้วก็คืนเขาเถิดจะได้ไม่เกิดปัญหา แถมสบายใจด้วย
แอดมินเพจ ครบเครื่องเรื่องกฎหมาย
เข้าสู่หน้าหลัก >>>kwamkidhen.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^
พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ
อยากรู้เรื่องกฏหมาย ฝากติดตามเพจครบเครื่องเรื่องกฎหมายด้วยนะจ๊ะ