กฎหมายน่ารู้

คดีอาญาคืออะไร? และคดีแพ่งคืออะไร? มาหาคำตอบกัน

คดีอาญาคืออะไร? และคดีแพ่งคืออะไร? มาหาคำตอบกัน

เชื่อว่าหลายคนคงรู้แล้วว่าคดีอาญากับคดีแพ่งคืออะไรแล้วแตกต่างกันอย่างไร แต่ก็เชื่ออีกว่าก็ยังมีอีกหลายคนคงยังไม่รู้ว่าอันไหนคือคดีอาญา อันไหนคือคดีแพ่ง วันนี้เลยจะขอกล่าวถึงเรื่องนี้สักหน่อยเพื่อให้คนที่ยังไม่รู้จะได้เข้าใจในเบื่องต้น เผื่อมีความเกี่ยวข้องหรืออยากได้เพื่อเป็นข้อมูล เล็กๆ น้อยๆ

เริ่มกันที่คดีอาญาคืออะไร คดีอาญาเป็นคดีเมื่อเกิดเหตุขึ้นจะกระทบถึงสาธารณะชนหรือ อะไรก็ตามที่กฎหมายห้ามมิให้สาธารณะชนกระทำ เช่น ห้ามฆ่าคน , ห้ามลักทรัพย์ , ห้ามวางเพลิง , ห้ามปล้นทรัพย์ หรืออย่างที่เห็นข่าวกันบ่อยๆ เช่น ทำร้ายร่างกาย , รับของโจร , ประมาททำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต และอื่นๆ อีกมากมาย อันเป็นความผิดในคดีอาญา ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นความผิด จากประมวลกฎหมายอาญา หรือ จาก พ.ร.บ. ต่างๆ ที่บัญญัติไว้ว่าการการกระทำนั้นมีความผิดทางอาญาและมีโทษทางอาญา เช่น โทษประหาร , จำคุก , กักขัง , ปรับ , ริบทรัพย์สิน

ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้ เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ ความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยักยอก เป็นต้น

การฟ้องร้องในคดีอาญา เมื่อมีการกระทำความผิดทางอาญา มี 2 กรณี

1. แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
2. แต่งตั้งทนายเพื่อฟ้องร้องเอง

กรณีแรก: เมื่อมีการทำความผิดเกิดขึ้น จะมีการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสอบปากคำและจัดทำสำนวนเสร็จแล้ว จะมีความเห็นว่าควรส่งฟ้องหรือไม่ และมีการเสนอสำนวนไปยัง พนักงานอัยการเมื่อพนักงานอัยการตรวจดูสำนวนแล้ว ถ้ามีความเห็นควรส่งฟ้อง ก็จะดำเนินการฟ้องคดีอาญา เพื่อให้จำเลยได้รับโทษต่อไป

กรณีที่สอง: เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายจะจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้องคดีเอง โดยจะมีการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ก็ได้ หรือกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า คดีจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในชั้นตำรวจ เนื่องจากผู้กระทำความผิดมีการวิ่งเต้น หรือมีอิทธิพล หรืออาจเป็นคดีเล็กน้อย เช่น คดีที่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง (เช็ค) ซึ่งถ้าแจ้งความแล้วจะล่าช้ากว่าการจ้างทนายความฟ้องร้องคดีเอง

ส่วนต่อมาคือคดีแพ่งคืออะไร คดีแพ่งคือ คดีที่พิจารณาตัดสิน เรื่อง สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ เป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของเอกชน (บุคคล) 2 ฝ่าย ที่มีการทำผิดสัญญาหรือโต้แย้งสิทธิกัน เช่นสิทธิต่างๆ มรดก ครอบครัว หนี้สิน ที่ดิน กรรมสิทธิในทรัพย์สิน และอื่นๆ ถ้าฝ่ายถูกกระทำหรืองดเว้นการกระทำ จะมากระทบต่อสิทธิของอีกฝ่ายก็สามารถฟ้องร้องเพื่อให้ศาลพิจารณาตัดสินได้ เช่น A ให้ B กู้ยืมเงิน A ก็ย่อมมีสิทธิ ที่จะได้เงินคืนจาก B ส่วน Bก็มีหน้าที่ต้องคืนเงินให้แก่ A แต่ถ้าหาก B ไม่ยอมคืนเงินให้ A ก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลเพื่อให้ B คืนเงินได้ เป็นต้น

การฟ้องร้องคดีแพ่ง ต้องมีการจ้างทนายความเพื่อฟ้องร้อง ต้องมีการเสียค่าขึ้นศาล ค่าส่งหมายให้อีกฝ่าย เพื่อให้ทราบถึงการฟ้องร้องนั้น ค่าคำร้อง และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะมีการรวบรวมไว้ และเมื่อชนะคดีแล้ว ศาลจะพิพากษาให้จำเลย (ผู้ถูกฟ้อง) คืนทรัพย์สิน หรือ ชดใช้ค่าเสียหาย หรือ กระทำ/งดเว้นการกระทำ และใช้เงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ นั้น แทนโจทก์ และเมื่อชนะคดีโจทก์ (ผู้ฟ้อง) ก็สามารถนำยึดทรัพย์สินของจำเลย (ถ้ามี) หากจำเลยไม่ชดใช้ค่าเสียหายเพื่อนำออกขายทอดตลาด และนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดมาชำระหนี้คืนให้แก่โจทก์ต่อไป

เข้าสู่หน้าหลัก >>>kwamkidhen.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^

พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ

อยากรู้เรื่องกฏหมาย ฝากติดตามเพจครบเครื่องเรื่องกฎหมายด้วยนะจ๊ะ