บทความ อินโดมองฟุตบอลไทย และไทยมองฟุตบอลอินโดอย่างไร?
กีฬา บทความ

บทความ อินโดมองฟุตบอลไทย และไทยมองฟุตบอลอินโดอย่างไร?

บทความ อินโดมองฟุตบอลไทย และไทยมองฟุตบอลอินโดอย่างไร?

กรุงเทพมหานคร คือ นครแห่งความงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างความทันสมัยและวัฒนธรรมเก่าแก่ที่อยู่ติดกันจนแทบจะแยกกันไม่ออก … เช่นเดียวกับฟุตบอลไทยที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้าอย่างมาก จนไม่ปล่อยพื้นที่หายใจให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้ไล่ตามทัน

ตอนนี้ผมอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ได้เห็นถึงความวุ่นวาย, ฝีเท้าอันรวดเร็ว และการไล่ตามความฝันเพื่อใช้ชีวิต … คลองเตยและการท่าเรือ เอฟซี เป็นอะไรที่เซ็กซี่มากในสายตาของผม … แม้ว่าจะเป็นการแข่งขันระหว่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดและเมืองทอง ยูไนเต็ดก็ตาม … ยิ่งไปกว่านั้นยังมีสโมสรที่ร่ำรวยอย่าง เชียงราย ยูไนเต็ด ที่อยู่ทางภาคเหนือของดินแดนแห่งช้างเผือกอีกด้วย

กรุงเทพมหานครทำให้ลมหายใจของผมถูกบดขยี้ไปด้วยกลิ่นอายแห่งฟุตบอล

มีอยู่วันหนึ่ง ผมต้องแพ็คกระเป๋าเดินทางไปที่จังหวัดกระบี่ น้องสาวของผมกำลังไปเที่ยวอยู่ที่นั่น … ขณะที่เงินในกระเป๋ากำลังจะหมดแล้ว … แต่มันคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะได้พบกับน้องสาว ด้วยจำนวนเงินที่เหลืออยู่ การเดินทางด้วยรถบัสน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

จากสายใต้ใหม่ (ขอโทษนะครับถ้าสะกดผิด) กรุงเทพมหานคร, รถบัสของผมเดินทางไปที่จังหวัดสุราษธานี พวกเขากล่าวว่ามันมีราคาถูกกว่า และจากสุราษธานีก็ใช้รถโดยสารสาธารณะเดินทางต่อไปยังกระบี่ แต่ใครจะคิดว่าบนรถบัสคันนี้ผมจะได้ถูกทดสอบอารมณ์และความเป็นชาตินิยมของผม

บนรถบัส, ผมได้เจอกับคนไทยที่รักในกีฟาฟุตบอล/เป็นแฟนฟุตบอลไทย … เขาพูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการเป็นคู่แข่งขันกันระหว่างประเทศของเขากับอินโดนีเซีย … จากเรื่องนี้ เดี๋ยวผมจะเขียนสรุปให้อ่านกัน

คุณคิดว่าอินโดนีเซียคือคู่แข่งรายใหญ่ของไทยหรือไม่?

โดยบทความนี้ผมขอเรียกชื่อเขาว่า เทพ (ผู้เขียนใช้คำว่า Tapa แต่ผู้แปลขอใช้คำว่า เทพ เพื่อให้เข้าใจง่าย) , เทพกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “โอ้ววว อินโดนีเชียยังคงเป็นคู่แข่งของไทยหรือไม่นะเหรอ? ผมต้องขอโทษด้วยนะ … คู่แข่งขันในปัจจุบันของพวกเราคือประเทศในเอเชียตะวันออก … ไม่ใช่อินโดนีเซียอีกต่อไปแล้ว”

ผมถอนหายใจ และพวกคุณคงรับรู้แล้วว่า ทำไมผมถึงกล่าวในตอนต้นว่า ความเป็นชาตินิยมของผมถึงถูกทดสอบอย่างแรง

เทพกล่าวต่อไปว่า “ต้องขอโทษด้วยถ้าผมทำให้ขุ่นเคืองใจ ถ้าผมจำเป็นต้องเลือก ดูเหมือนว่าคู่แข่งที่คู่ควรน่าจะเป็นมาเลเซียและเวียดนาม (ในการแข่งขัน AFF Cup) ในขณะเดียวกันฟิลิปปินส์ก็ไม่สามารถมองข้ามได้เนื่องด้วยอันดับฟีฟ่า”

แทนที่ผมจะรู้สึกหงุดหงิด แต่กลับรู้สึกสนใจในมุมมองของเทพ

เขากล่าวต่อไปว่า “ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสมาคมฟุตบอล (ไม่ว่าจะเป็น FAT หรือ PSSI) มันต้องมีลักษณะอื่นๆ ที่นอกเหนือจากฟุตบอล … เพราะถ้าบอกว่าไม่มี มีแต่เรื่องของฟุตบอลเพียงอย่างเดียว นั่นมันเป็นเรื่องโกหก … หรือถ้าหากมี บุคคลคนนั้นก็จะถูกคัดออก เพราะว่าจะไม่สามารถเชิญเข้ามาร่วมทำงานกันได้ หรือที่เรียกว่า สมคบคิด … ถ้าหากบุคคลประเภทนั้นเข้ามาจริงๆ … โดยทั่วไปแล้วก็จะกลายเป็นแค่เกราะกำบังหรือกลายเป็นขี้ข้าของสมาคมฟุตบอล”

จากนั้น ผมจึงถามเขาว่า FAT (สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย) ก็เป็นแบบนั้นเหมือนกันใช่ไหม? จากนั้นเขาก็ตอบอย่างตรงไปตรงมาจนทำให้ผมรู้สึกประหลาดใจ

“ผมกำลังพูดถึงสมาคมฟุตบอลในประเทศของผมอย่างมากมาย แต่เงื่อนไขมันก็คงจะเหมือนกันใช่ไหม? ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยและอินโดนีเซียเท่านั้น … แต่ผมเชื่อว่าแม้แต่ในมาเลเซีย, เวียดนาม หรือแม้กระทั่งญี่ปุ่นก็คงจะเป็นเหมือนๆ กัน … แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผลงานของสมาคมฟุตบอลในแต่ละประเทศแตกต่างกัน นั่นก็คือ ความเป็นมืออาชีพ”

ผมยิ้มกว้างให้กับสิ่งที่เทพพูดซึ่งดูเหมือนจะเป็นอุดมคติเกินไป แล้วผมก็ถามเขาว่า การเมืองทำให้วงการฟุตบอลเป็นมืออาชีพได้ด้วยเหรอ? เทพก็ตอบว่า ใช่

“ท้ายที่สุดแล้ว, ทุกอย่างมันก็เกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่แล้วนะพี่ชาย” ผมยังจำรอยยิ้มของเทพได้ตอนที่เขากำลังพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้

แล้วอะไรคือความแตกต่างทางการเมืองของประเทศไทยและอินโดนีเซียละ?

“ถ้าหากอุตสาหกรรมฟุตบอลยังมีอยู่ มันก็ช่วยพัฒนาวงการฟุตบอลได้ และหลังจากที่มีอุตสาหกรรมฟุตบอลแล้วก็จะมีผู้คนมากมายที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ … แล้วการเมืองก็คงจะสงบลง” เทพกล่าว (ผมตีความหมายจากคำพูดของเทพว่า ฟุตบอลช่วยสนับสนุนผู้คน ทั้งในเรื่องทางวัตถุและความบันเทิง”

ผมไม่ได้สนใจมองถนนหนทางแล้ว … ตอนนี้ผมอยากจะรู้ถึงความคิดเห็นของหนึ่งในแฟนบอลไทยหลายล้านคน เกี่ยวกับอินโดนีเซีย

“เฮ้” เทพยักคิ้ว แล้วกระซิบเบาๆ แม้จะดูเหมือนว่าเขาพูดเสียงดังก็ตามเถอะ

“ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ก็เป็นนักการเมือง, ประธานสโมสรการท่าเรือก็เช่นกัน หรือแม้แต่นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยก็เป็นนักการเมือง วงการฟุตบอลของพวกเราเต็มไปด้วยนักการเมือง … ผมยอมรับนะ … สมาคมฟุตบอลของคุณก็เหมือนกันใช่ไหมละ?

แต่อย่างไรก็ตาม เขาก็พูดต่อว่า “การเมืองของพวกเรา คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดุจพระเจ้าใช่หรือไม่? ก็คงไม่ใช่ … นายวรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลคนก่อน และเป็นบุคคลสำคัญของเมืองทอง ยูไนเต็ด (ในปี 2006 นายวรวีร์ เคยเป็นเจ้าของทีมหนองจอก พิทยานุสสรณ์ เอฟซี ซึ่งเป็นชื่อเดิมของ เมืองทอง ยูไนเต็ด) และเขาเคยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการโหวตเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2018 และ 2022 ด้วย … แล้วการเมืองในอินโดนีเซียละเป็นยังไงบ้าง? มันคงต้องแย่กว่านี้แน่ๆ เลย” เขาหัวเราะ … ผมทำได้แค่พยักหน้า

เทพยังคงเน้นย้ำถึงความเป็นมืออาชีพ “ไม่ว่านักการเมืองจะทำอะไรมาก็ตาม ถ้าหากเขาเข้ามาสู่โลกแห่งฟุตบอล แล้วมาทำร้ายวงการฟุตบอลในลักษณะของการเมืองส่วนตัว … ผู้ที่อยู่เบื้องหลังคอยสนับสนุนวงการฟุตบอลไทยที่เข้มแข็งอย่างผม และอีกหลายๆ คนจะไม่ไว้วางใจเขาอีกต่อไป … และคนคนนั้นก็จะต้องพังพินาศไป”

ผมทำได้แค่นั่งเงียบ แล้วมาเปรียบเทียบกับนักการเมืองของอินโดนีเซียที่อยากเข้ามายังสมาคมฟุตบอลเพียงเพื่อต้องการชื่อเสียง และน่าเสียดายที่บ่อยครั้งก็เข้ามาทำลายความหวังที่จะได้เห็นประเทศอันเป็นที่รักของพวกเราประสบความสำเร็จ … ก็จริงอย่างที่เทพว่า … ฟุตบอลอินโดนีเซียเต็มไปด้วยคนฉลาดมากมาย … แต่ถ้าเป็นเรื่องของความเป็นมืออาชีพ แทบจะนับคนได้เลย”

📝 ผู้เขียน: Gusti Aditya (กุสตี อะดิเตีย)

***นี่คือความคิดเห็นเพียงบางส่วนที่นำฝากเพื่อนๆ เท่านั้น ไม่สามารถเหมารวมว่าเป็นความคิดเห็นของคนทั้งประเทศได้ … นำมาฝากเพื่อให้เห็นถึงทัศนคติของชาวต่างชาติและเพื่อความบันเทิงเท่านั้น ได้โปรดใช้สติและวิจารณญาณในการรับชมรับฟังด้วยนะครับ***

แปลโดย : แอดมินอีเจ้
เครดิตเพจ : เพจคอมเมนต์แฟนกีฬาต่างชาติ
เครดิตเว็บ : http://kwamkidhen.com/

ฝากติดตามช่องยูทูปด้วยนะจ๊ะ >>> EJComment

พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ