เครือข่ายปฏิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน ผุดแคมเปญ “ต้องไม่ติดคุกเพราะจน”
เครือข่ายปฏิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน เป็นกลุ่มที่ล่ารายชื่อถึง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม
เป็นหนึ่งในการปฏิรูปด้านสำคัญต่อสังคมในปัญหา “ผู้ต้องขังล้นเรือนจำ”
โดยเครือข่ายปฏิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน ได้มีการจัดแคมเปญซื่อ “ต้องไม่ติดคุกเพราะจน” ให้ผู้ที่สนับสนุนลงชื่อได้ทาง Change.org
ในปัจจุบันมีผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาคดีที่ไม่ได้รับการประกันตัวมากว่า 60,000 ราย ซึ่งก็มีโทษแตกต่างกันมีทั้งกรณีโทษหนักศาลพิจารณาไม่ให้ประกันตัว และมีทั้งกรณีที่ต้องจำคุกเพราะไม่มีเงินประกันตัวเพื่อออกไปสู้คดี ซึ่งในกรณีหลังนี้ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อไม่ให้ “ต้องติดคุกเพราะความจน”
เครือข่ายปฎิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน ระบุว่า ก่อนศาลจะตัดสินว่าใครผิด ผู้ต้องสงสัย ขอย้ำว่าแค่สงสัยยังไม่รู้ว่าทำผิดจริงหรือเปล่า ที่ถูกจับกุม ณ ที่เกิดเหตุ จะต้องถูกฝากขัง เพื่อไม่ให้หนีไปก่อนพิจารณาคดี แต่เขาสามารถวางเงินประกันเพื่อซื้ออิสรภาพช่วงรอได้ เมื่อมาฟังศาลตัดสิน ไม่ว่าผิดหรือถูก ก็จะได้เงินประกันคืนไป แต่ในทางกลับกัน คนจนที่ไม่มีเงินเอาไว้ประกันตัวเอง จะต้องติดคุกระหว่างรอการพิจารณา ซึ่งเฉลี่ยแล้วอาจกินเวลาในคุก 6 เดือน ถึง 1 ปี ทั้งที่ตัวเองอาจจะไม่ได้ผิดเลย มาลองดูเรื่องจริง ของคนจนที่ไม่เหลือทางเลือก เหล่านี้กัน…
นายขาว (นามสมมติ) คนขับแท็กซี่ ตำรวจพบยาเสพติดในกระเป๋าของผู้โดยสาร แต่เขาก็กลายเป็นผู้ต้องสงสัยไปด้วย ผู้โดยสาร 2 คนใช้เงินประกันตัว ส่วนนายขาวไม่มีเงิน จึงต้องรอในคุกเป็นเวลาเกือบปี ถึงมีคำตัดสินว่าเขาไม่ผิด…เท่ากับว่าเวลาช่วงนั้น เขาติดคุกฟรี
ป้าแดง (นามสมมติ) ถูกผู้ค้ากัญชารายย่อยที่ตำรวจจับได้ กล่าวเท็จซัดทอดว่ารับกัญชามาจากป้าแดง ป้าไม่มีเงินประกันตัว จึงต้องเข้าไปรอในคุก และสุดท้ายศาลก็ตัดสินว่าป้าไม่ผิด… ป้าแดง ก็ติดคุกฟรีเช่นกัน
สำหรับ แบบตรวจวัดความเสี่ยงการหลบหนี นั้น เครือข่ายปฎิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน อธิบายเพิ่มเติมว่า
ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา เคยเจอปัญหานี้แบบบ้านเรา จึงเปลี่ยนมาใช้ “แบบตรวจวัดความเสี่ยงการหลบหนี” ซึ่งได้ผลดีอย่างมาก และตอนนี้ไทยก็เริ่มรับโครงการนี้มาทดลองใช้แล้ว
เมื่อมีคดีเข้ามา เจ้าหน้าที่ศาลจะดึงข้อมูลของผู้ต้องสงสัย จำนวน 15 หมวด เช่น ประวัติอาชญากรรม , ประวัติยาเสพติด , คดีที่ค้างพิจารณา , ฐานรายได้ เป็นต้น มาคำนวนเป็นคะแนน ว่าคนนี้ มี “ความเสี่ยง” ที่จะหนีมากน้อยแค่ไหน
ผู้พิพากษา สามารถจัดการตามคะแนนได้ เช่น เสี่ยงน้อยก็ให้สาบานแล้วนัดวันรายงานตัว เสี่ยงกลางก็สามารถให้รายงานตัวด้วยการ Scan ลายนิ้วมือผ่าน Application หรือใส่กำไลที่ข้อเท้า และถ้าเสี่ยงมากจริงๆ ว่าจะหนี ก็ยังสามารถขังได้เหมือนเดิม
ด้วยการตรวจวัดความเสี่ยงที่เป็นวิทยาศาสตร์ และกลไกการกำกับดูแลหลังปล่อย จึงทำให้ศาลมีทั้งข้อมูลและเครื่องมือที่ทำให้ไม่ต้องเรียกเงินในการประกันตัวอีกต่อไป
ข้อดีของระบบใหม่นี้ คือ
ใช้หลักการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทำให้คนทุกคนไม่ว่ารวยจน ก็จะเท่าเทียมกัน คนรวยมีทั้งที่เสี่ยงจะหนีและไม่หนี คนจนก็เช่นกัน ทุกคนจะถูกวัดด้วยเครื่องมือเดียวกัน ปลอดอคติ
เป็นหลักสถิติ ที่ยิ่งใช้มาก ยิ่งเพิ่มฐานข้อมูล ก็จะยิ่งคาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น
ลดความแออัดในเรือนจำ ตอนนี้คุกไทยมีผู้ต้องขังทั้งหมด 2.4 แสนคน แต่เป็นคนที่ถูกขังเพราะไม่มีเงินประกัน ถึงเกือบ 60,000 คน หรือ 1 ใน 5
หากท่านสนใจสนับสนุนแคมเปญนี้ ร่วมลงชื่อสนับสนุนได้ที่ https://goo.gl/kjNbqy
ตัวอย่าง การติดคุกเพราะความจน จากเพจ อีจัน
เข้าสู่หน้าหลัก >>>kwamkidhen.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^
พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ
อยากรู้เรื่องกฏหมาย ฝากติดตามเพจครบเครื่องเรื่องกฎหมายด้วยนะจ๊ะ