Uncategorized

เก็บดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยถือเป็นโมฆะ

เก็บดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด ดอกเบี้ยถือเป็นโมฆะ

ในสังคมปัจจุบันเศษฐกิจฝืดเคือง และในหลายๆครัวเรือนย่อมมีช่วง “ชักหน้าไม่ถึงหลัง

ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ ที่จะต้องหาทางออก โดยการกู้หนี้ยืมสิน และวันนี้เราจะว่าด้วยเรื่องของ “ดอกเบี้ย”

เป็นที่แน่นอนว่า การกู้ยืมต่างๆ ต้องมี “ดอกเบี้ย” เข้ามาเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย ตามแต่โอกาสของแต่ละคน

แต่การกู้เงินที่มักจะเห็นกันบ่อยๆ เพราะสะดวกในการกู้ นั้นคือการกู้นอกระบบ กู้กันเองตามบ้าน ตามตลาด ดอกเบี้ยก็แล้วแต่เจ้าหนี้จะคิด

เช่น ร้อยละ 3 ต่อเดือน (เท่ากับร้อยละ 36 ต่อปี) หรือ ร้อยละ 10 ร้อยละ15 หรือร้อยละ 20

ดังนั้นกฎหมายจึงมีบทบัญญัติ ที่เข้ามาควบคุมอัตราดอกเบี้ย เช่น พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560

มาตรา ๔ บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทําการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการอําพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนดไว้
(๒) กําหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจํานวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนด หรือ
(๓) กําหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของหรือโดยวิธีการใดๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงิน
และกำหนดอัตตราไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์

มาตรา 654 ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้า ในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้นก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้า ต่อปี

ตามข้อกฎหมายข้างต้น หากการคิด “ดอกเบี้ย” ของเจ้าหนี้เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 4 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2551
(เฉพาะดอกเบี้ยนะจ๊ะ)