บทความ อื่นๆ

ไทยมีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลกจากการจัดอันดับของบลูมเบิร์ก

ไทยมีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลกจากการจัดอันดับของบลูมเบิร์ก

ด้วยค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลกในปีนี้มากกว่าการว่างงาน, ตามการรายงานดัชนีของ บลูมเบิร์ก ซึ่งได้รวบรวมผลของอัตราเงินเฟ้อและการว่างงานของ 66 ประเทศ

ดัชนีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจของพลูมเบิร์ก

10 ประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจน้อยที่สุด มีดังนี้ (คะแนนน้อย คือ ทุกข์ยากน้อย)
1. ไทย มี 1.9 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 2.5 คะแนน (2018)
2. สิงคโปร์ มี 2.8 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 3.2 คะแนน (2018)
3. ญี่ปุ่น มี 3.3 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 3.6 คะแนน (2018)
4. สวิสเซอร์แลนด์ มี 3.7 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 3.6 คะแนน (2018)
5. ไอซ์แลนด์ มี 3.9 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 5.3 คะแนน (2018)
6. ไต้หวัน มี 4.4 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 4.9 คะแนน (2018)
7. อิสราเอล มี 4.5 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 5.2 คะแนน (2018)
8. เดนมาร์ก/ฮ่องกง มี 4.6 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 5.7 คะแนน (2018)
8. ฮ่องกง มี 4.6 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 5.7 คะแนน (2018)
10. จีน มี 5.5 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 6.3 คะแนน (2018)

ดัชนีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจของพลูมเบิร์ก

10 ประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจมากที่สุด มีดังนี้ (คะแนนมาก คือ ทุกข์ยากมาก)
1. เวเนซูเอลา มี – คะแนน (2017)  คาดการณ์ 1872 คะแนน (2018)
2. อิยิปต์ มี 41.7 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 26.4 คะแนน (2018)
3. อาเจนตินา มี 36.9 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 27.1 คะแนน (2018)
4. แอฟริกาใต้ มี 33.0 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 33.1 คะแนน (2018)
5. ยูเครน มี 23.8 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 17.8 คะแนน (2018)
6. กรีซ มี 22.7 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 20.6 คะแนน (2018)
7. ตุรกี มี 22.2 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 20.6 คะแนน (2018)
8. สเปน มี 19.2 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 17.3 คะแนน (2018)
9. บราซิล/เซอร์เบีย มี 16.3 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 15.8 คะแนน (2018)
9.  เซอร์เบีย มี 16.3 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 14.7 คะแนน (2018)
11. ซาอุดิ อารเบีย มี 12.5 คะแนน (2017)  คาดการณ์ 15.4 คะแนน (2018)

เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่มีดัชนีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกเป็นปีที่ 4 แล้ว โดยมีคะแนนสูงกว่าเดิม 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2017 และประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดอีกครั้ง และสิงคโปร์ตามมาเป็นอันดับที่ 2 ขณะที่เม็กซิโกดัชนีดีขึ้นในปีนี้เนื่องจากสามารถควบคุมจัดการอัตราเงินเฟ้อได้ ส่วนโรมาเนียดูเหมือนจะมีความทุกยากมากขึ้นด้วยเหตุผลที่ตรงกันข้าม

ดัชนีของ บลูมเบิร์ก นั้นทำตามแนวคิดที่ว่าอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำแสดงให้เห็นว่าประชาชนในระบบเศรษฐกิจมีความเป็นอยู่ที่ดีเพียงใด แต่บางครั้งการอยู่ในอัตราที่ต่ำก็สามารถทำให้เข้าใจผิดกันได้ เช่น ราคาค่าครองชีพที่ต่ำอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความต้องการที่แย่ลง หรืออัตราการตกงานที่ต่ำอาจจะเกิดจากผู้คนต้องการจะเปลี่ยนไปทำงานที่ดีกว่าเดิมก็ได้

ผลการสำรวจโดยภาพรวมของโลก มีสัญญาณบ่งบอกว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกโดยรวมสดใส : นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 3.7% ในปี 2018 ซึ่งสอดคล้องกับปีที่แล้วที่มีดัชนีที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 จากการสำรวจของ บลูมเบิร์ก

ที่มา Bloomberg

เข้าสู่หน้าหลัก >>>kwamkidhen.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^

พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ