่ข่าวจากเวียดนาม : ปิรามิดหัวกลับของฟุตบอลเวียดนามและบทเรียนจากประเทศไทย
กีฬา ข่าว

ข่าวจากเวียดนาม : ปิรามิดหัวกลับของฟุตบอลเวียดนามและบทเรียนจากประเทศไทย

ข่าวจากเวียดนาม : ปิรามิดหัวกลับของฟุตบอลเวียดนามและบทเรียนจากประเทศไทย

ความขัดแย้งที่ยังคงอยู่ในวีลีก และระบบการฝึกซ้อมของเยาวชนคือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ฟุตบอลเวียดนามไม่สามารถ “ก้าวข้าม” ระดับภูมิภาคและระดับทวีปได้

ถ้าฟุตบอลคือปิรามิด, ทีมชาติอยู่ที่จุดสูงสุด, ลีกของชาติและเยาวชนอยู่ด้านล่าง ด้านล่างก็ควรที่จะลึกและกว้างเพื่อความมั่นคงและแข็งแกร่ง สามารถนำไปสู่จุดที่สูงขึ้นไปอีก มันคือกฎเกณฑ์พื้นฐานของฟุตบอลทั่วโลก

หากนำกฎเกณฑ์ดังกล่าวมาใส่ในฟุตบอลเวียดนาม, เราจะเห็นว่ามันขัดแย้งกันทันที

ปิรามิดหัวกลับของฟุตบอลเวียดนาม

วีลีก ลีกสูงสุดของระบบฟุตบอลเวียดนามประกอบด้วยทีมทั้งหมด 14 ทีม ส่วนดิวิชั่น 1 มี 7 ทีม ดิวิชั่น 2 มี 16 ทีม และดิวิชั่น 3 มี 7 ทีม จากจำนวนที่ว่านี้ทำให้ลีกอาชีพของเวียดนามมีลักษณเหมือนกับปิรามิดหัวกลับหรือกรวยมากว่า

ด้วยระบบที่ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การพัฒนาจึงทำให้เกิดผลกระทบมากมาย ในระดับดิวิชั่น 1 มีเพียง 7 ทีมเท่านั้นที่เข้าร่วม ถือว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งทำให้โครงสร้างของวีลีกนั้นเปราะบาง ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปัจจุบันจำนวนทีมที่เข้าร่วมในวีลีกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 ครั้ง นี่ยังไม่รวมถึงทีมที่ออกไปอย่างกระทันหัน อัน เกียง, นินห์ บินห์ หรือ เคียน เกียง

เพื่อที่จะยังคงจำนวนทีมในวีลีกไว้ 14 ทีม, บริษัทวีลีกจึงทำทุกอย่างให้เรียบร้อย พวกเขาละทิ้งกฎเกณฑ์ความเป็นมืออาชีพไป พวกเขายอมรับพื้นผิดที่ขรุขระแต่ทำลายระบบได้ … พวกเขากลัวรางวัลใหญ่จะหายไปมากกว่ากลัวว่าคุณภาพจะลดลง

ความคิดของบริษัทวีลีกทำให้วีลีกสูญเสียตำแหน่งและคุณค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ทีมต่างๆ ไม่สนใจในการส่งเสริมอีกต่อไป … สโมสรไม่พยายามที่จะปรับปรุงภาพลักษณ์ และแฟนๆ เองก็เริ่มออกจากลีกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลักฐานก็คือจำนวนแฟนๆ ที่เข้ามาในสนามในแต่ละฤดูกาลมีจำนวนลดลง

มาดูระบบลีกของประเทศไทยกันบ้าง คนรักฟุตบอลจะมองเห็นถึงความแตกต่าง ไทยลีก 1 มีจำนวน 18 ทีม ไทยลีก2 มีจำนวน 18 ทีม ไทยลีก3 มีจำนวน 32 ทีม และไทยลีก4 มีจำนวน 61 ทีม … นอกจาก 4 ดิวิชั่นนี้แล้ว ยังมีทีมฟุตบอลในลีกสมัครเล่นสำหรับนักเตะสมัครเล่นได้เข้าร่วมอย่างไม่จำกัดจำนวนทีมอีกด้วย

ด้วยรากฐานที่แข็งแกร่งนี้เอง ทำให้สามารถเลือกนักเตะระดับท็อปของไทยในแต่ละช่วงอายุได้อย่างง่ายดาย และสร้างทีมระดับแนวหน้าในรุ่น U23 และทีมชาติชุดใหญ่ หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือการคว้าแชมป์ AFF CUP สมัยที่ 4 และคว้าแชมป์ซีเกมส์ครั้งล่าสุด และเป็นเพียงทีมเดียวของอาเซียนที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้ถึง 2 ครั้ง

การแข่งขัน 20 เกมต่อปี สำหรับนักเตะเยาวชน : ความฝันไม่มีวันเป็นจริง

ระบบลีกระดับชาติที่ไม่สมเหตุสมผลทำให้นักเตะเยาวชนอ่อนแอเกินไป กลยุทธ์ในการพัฒนาของฟุตบอลเวียดนามจึงได้จัดทำข้อกำหนดขึ้น: “ปรับปรุงระบบการลีกระดับชาติโดยโดยมีกฎเกณฑ์ว่าให้นักเตะ U21 ลงเล่นอย่างน้อย 20 เกมต่อปี” แต่กลยุทธ์นี้ก็ยังไม่ถูกนำมาใช้

เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านจำนวนทีมในลีกระดับล่างๆ จึงทำให้โอกาสของนักเตะเยาวชนถูกจำกัดเช่นกัน พวกเขาจำเป็นต้องพึงพอใจกับการแข่งขันในระดับชาติซึ่งจัดขึ้นปีละครั้ง … ถือว่าน้อยเกินไปสำหรับเยาวชน

โค้ชเหงียน ไฮ เบียน – ผู้ฝึกสอนเยาวชนของทีมเวียดเทล วิเคราะห์ว่า: “นักเตะ U13 และ U15 หากได้เตะในรายการระดับชาติก็จะได้เล่นเพียง 10 กว่าเกมต่อปีเท่านั้น ซึ่งหากพวกเขาสามารถเข้าสู่รอบชิงฯ ได้ ก็จะได้เล่นอีก 5 เกม ในระดับ U19 และ U21 ก็มีจำนวนเท่ากัน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วนักเตะเยาวชนได้ลงเล่นเพียง 15 ครั้งต่อปีเท่านั้นในระดับสโมสร ทำให้โอกาสในการขัดเกลาจากการแข่งขันของพวกเขานั้นมีน้อยมาก”

สถานการณ์นี้ทางด้านสมาคมฯ ก็กำลังกังวลอยู่เช่นกัน แต่การแก้ปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย … เขลาธิการสมาคมฯ เล ฮวย ดันห์ กล่าวว่า “ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา สมาคมฟุตบอลเวียดนามได้พยายามที่จะพัฒนาระบบการแข่งขันระดับเยาวชน ได้มีการจัดรอบคัดเลือก 2 รอบ ทำให้มีจำนวนการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่เราก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย นักเตะเยาวชนเหมาะที่จะเล่นในช่วงซัมเมอร์มากกว่า และต้องสมดุลกับปฏิทินของผู้เล่นเยาวชนด้วย และงบประมาณก็ไม่เพียงพอสำหรับการจัดการแข่งขันในระดับเยาวชนด้วย”

ถึงแม้ว่าสมาคมฯ จะจัดรายการมากขึ้น แต่นักเตะเยาวชนเองก็ต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคหลายอย่าง ระยะเวลาที่ยาวขึ้น, แต่ละทีมก็ต้องใช้งบประมาณที่มากขึ้น … ขณะที่เงินลงทุนในระดับเยาวชนนั้นยังมีจำนวนที่จำกัดอยู่

ยกเว้นศูนย์ฝึกแห่งใหม่อย่าง HAGL, PVF หรือ Viettel, ส่วนศูนย์ฝึกเก่าๆ นั้นจะประสบปัญหา โดยผู้อำนวยการของ SLNA เหงียน ฮอง ทันห์ กล่าวว่า ต้องการเพียงนม 1 แก้วต่อวันสำหรับนักเตะเยาวชนเท่านั้น

โค้ชไฮ เบียน กล่าวว่า”ศูนย์ฝึกขนาดใหญ่อย่างเวียดเทล, เราได้สรุปในปี 2017 ว่าผู้เล่นได้ลงเล่นน้อยเกินไป ถ้าพวกเขาได้ลงเล่นมากกว่านี้ ผมเชื่อว่า ระดับนักเตะของเยาวชนเวียดนามจะดีขึ้นอย่างมาก

Source: Zing.vn

เข้าสู่หน้าหลัก >>>kwamkidhen.com
ไม่อยากพลาดข่าวสารและบทความดีๆ … อย่าลืมกดติดตามด้วยนะจ๊ะ ^^

พูดคุยกับเจ้ เมาท์มอยวงการกีฬาติดตามได้ในเพจนี้นะจ๊ะ